Uncategorized

Hyper Focal Distance

ระยะชัดแบบไฮเปอร์โฟคัลดิสแทนซ์ [ Hyper Focal Distance ] :
มันคืออะไร ?
เขียนให้ง่ายที่สุดคือ

ในช่วงซูม หรือ ทางยาวโฟกัส แต่ละช่วงนั้น จะมี “ ระยะที่ห่างจากวัตถุ” อยู่ระยะหนึ่ง ที่ไม่ว่าเราจะเปิดรูรับแสงเท่าไหร่ เราก็จะได้ ระยะชัดลึก เป็นระยะอนันต์ หรือ อินฟินิตี้ เช่น ถ้าเราใช้ช่วงซูมที่ 35 มม แล้วเราโฟกัสไปที่วัตถุที่อยู่ห่างออกไป 22 เมตร ไม่ว่าเราจะเปิด เอฟ 1.8 หรือ เอฟ 22 ก็ตามที เราจะได้ฉากหลังของวัตถุนั้น ชัดลึก เท่ากันทั้งหมด

และมันเป็นค่าที่สามารถคำนวณได้ แต่ไม่ต้องคำนวณ เพราะมีคนทำเป็นตารางไว้ให้แล้ว

จากตาราง เรามาทำความเข้าใจง่ายๆกันดูนะครับ

ถ้าเราใช้ช่วงซูมที่ 85 มม ถ่ายคนๆหนึ่ง แล้วเราอยากได้ฉากหลังที่ชัดลึกทั้งภาพ แต่เราอยากเปิดค่าเอฟ ที่ 4.0 อาจจะเป็นเพราะแสงน้อยหรืออะไรก็แล้วแต่ เราต้องถอยไปไกลจากแบบถึง 198 ฟุต หรือ ราวๆ 60 เมตร เพื่อให้ได้ฉากหลังที่ชัดลึกทั้งหมด

แต่ถ้าเราเปิด เอฟ 22 เราไม่ต้องถอยไกลขนาด 60 เมตร เราจะใช้ระยะโฟกัสที่ 35.2 ฟุต หรือราวๆ 11 เมตร เท่านั้นเอง เพื่อให้ได้ฉากหลังที่เป้นระยะชัดอินฟินิตี้ (ชัดลึกทั้งภาพ) แต่อย่าลืมว่าเราต้องแลกมาด้วยสปีดที่ต่ำมากเช่นกัน

แล้วมันมีประโยชน์ยังไง การรู้ข้อมูลทางทฤษฏีแล้วเอาไปใช้ไม่เป็นก็เหมือนกับการดูหนังสือโป๊แต่ไม่เคยขึ้นเตียงอย่างไงอย่างงั้นแหละครับ

จากตารางที่เป็นข้อเท็จจริงทางฟิสิกส์นั้น เราจะเห็นค่าสัมพันธ์ค่าหนึ่งได้อย่างชัดเจน เป็นค่าสัมพัทธ์ง่ายๆ คือ
“ ยิ่งมุมกว้างมากเท่าไหร่ ยิ่งใช้ระยะห่างจากวัตถุน้อยมากขึ้นเท่านั้น เพื่อการได้มาซึ่งฉากหลังที่ชัดอนันต์ ”
และ “ ยิ่งใช้ค่ารูรับแสงที่ แคบ มากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งใช้ระยะห่างจากวัตถุน้อยลง เพื่อให้ได้มาซึ่งฉากหลังที่ชัดอนันต์ ”

แต่ทฤษฏีนี้มันเด็กๆครับ … เราเอามาใช้จริงยังไงดีกว่า มาดูกันครับ
ถ้าสมมุติกล้องคุณเป็นกล้องรุ่นเก่า มีน๊อยส์บานเบอะที่ iso เกิน 1600 แล้วบังเอิญ ว่าวิวตรงหน้ามันสวยเหลือเกินแต่แสงน้อยไปนิด อยากได้ภาพที่ชัดลึกทั้งภาพ
คุณมีเลนส์กว้าง 18 มม แต่ถ้าจะเปิดตามสูตรที่กูรู(ซึ่งไม่รู้มันเป็นใคร) บอกว่าถ่ายแลนด์ ต้องเปิดที่ เอฟ 8.0 – 16.0 จะได้ชัดลึกกกกกก ที่สุดเท่าที่จะทำได้


และถ้าคุณเชื่อ เปิด เอฟ 16 แบบที่กูรูบอก มันทำเอา สปีดชัตเตอร์คุณต่ำไปถึง 1/10 วินาที ที่ iso 1600 ขาตั้งก็ไม่ได้เอามา คุณจะทำอย่างไร

เพิ่ม iso เป็น 12800 เพื่อให้ได้สปีดที่ถือได้ รับสภาพน๊อยส์ไป สรุปถ่ายไปเอามาทำไรไม่ได้
หาอะไรวางกล้อง เพื่อให้ได้จุดที่นิ่งที่สุด ทั้งเสี่ยงและเสียเวลามุมก็ไม่ได้ดั่งใจ ทำใจ ไม่ถ่ายก็ได้วะ


เปิดตาราง Hyperfocal เพื่อดูระยะว่า ที่ 18 มม ควรจะโฟกัสห่างไปสักเท่าไหร่ดี
ถ้าเลือกข้อ 4 ลองกลับไปดูที่ตารางครับ เรามีเลนส์ 18 มม แล้ววิเคราะห์วิวข้างหน้า … ถ้าเราเปิดที่ 4.0 ค่า hyperfocal บอกว่า ถ้าเราโฟกัสวัตถุที่ห่างออกไป 8.9 ฟุด หรือราวๆ 3 เมตร … เราก็จะได้ภาพชัดลึก เท่ากับเปิดที่ เอฟ 8.0 แล้วครับ

ดังนั้น ถ้าวิวที่อยู่ตรงหน้า ห่างจากเราเกิน 3 เมตรแล้วล่ะก็ … ใช้ได้เลย ไม่ต้องรอผล คุณเปิด 4.0 ที่ iso 1600 ได้สปีดคืนมาอีก 4 stop แน่ะ จาก เอฟ 16 >11 >8.0 >5.6 >4.0 ได้สปีด 1/120 ที่ iso 1600 หรือจะถือที่ 1/60 แล้วไปใช้ iso 800 ก็หวังผลได้มากกว่าเดิมมาก

ในสถานที่บางที่ที่ไม่สามารถ กางขาตั้งกล้องได้ เช่น บนทางขึ้นเขา
บนแพ บนเรือ บนรถที่วิ่ง หากเราไปกังวล กับเรื่องของค่ารูรับแสงที่ต้องแคบมาก
เพราะห่วงเรื่องระยะชัดลึกนั้น เราแทบจะสูญเสียโอกาสในการได้ภาพ
หลายๆภาพ ในหลายๆโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย

ใบนี้ถ่ายจากกระเช้าที่กำลังเคลื่อนที่ ใช้ช่วง 80 มม รูรับแสงที่ f4.0 วัตถุต้องอยู่ห่าง 60 เมตรถึงจะได้ระยะชัดอนันต์ ภูเขาที่เป็นฉากหน้าอยู่ห่างจากผู้ถ่ายราวๆ 100 เมตร จะเห็นได้ว่าทั้งภูเขาและฉากหลังก็ชัดทั้งหมด ซึ่งการได้ภาพจากกระเช้าที่เคลื่อนที่
ตอนแสงน้อย ในมุมนี้หากยึดติดกับกฏเกณฑ์เดิมๆก็ไม่มีทางจะได้ภาพได้เลย

กระจกเครื่องบิน ไม่สะอาด เป็นรอยขีดข่วน หากคิดว่าจะใช้รูรับแสงแคบ เพื่อต้องการให้ภูเขา ชัด ทั้งหมด เราอาจจะคิดไปถึง F8.0 – F 16.0 ซึ่งหากคำนวณทางยาวโฟกัสที่ใช้ ใบนี้ใช้เลนส์ 85 mm ระยะโฟกัสใกล้ที่สุดที่ หากใช้ F2.8 ไม่มีระยะชัดตื้น เกิดขึ้น คือ 280 ฟุต … จากระยะที่เราถ่าย มั่นใจได้ว่าเกิน 280 ฟุตแน่ๆ ดังนั้น ไม่ว่าจะเปิด F 2.8 หรือ F ที่แคบกว่านั้น ความชัด จะเท่ากันหมด

แต่หากต้องการ หลีกเลี่ยง รอยขีดข่วนหรือคราบที่กระจก ดังนั้นการเลือกใช้ F ที่กว้าง จึงเป็นทางเลือกที่ดี ทางหนึ่ง และ อาจประยุกต์ใช้ เมื่อต้องการ Speed ที่มากขึ้นและต้องการระยะชัดที่มากเช่นกันระยะ hyperfocal นั้นไม่ได้มีอะไรซับซ้อน ละมีค่าตายตัว คำนวณบนพื้นฐานของกล้องแบบฟูลเฟรม ส่วนใครใช้กล้องตัวคูณนั้น ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แค่มุมรับภาพของคุณจะแคบลงตามตัวคูณเท่านั้นเอง

ระยะ hyperfocal ยังสามารถเอาไปใช้ได้หลายอย่าง ที่ผมใช้บ่อย เช่น การถ่ายดาว / ทางช้างเผือก บางครั้งเรา อาจจะหาจุดโฟกัสยากหรือไม่แน่ใจในการหมุนไปที่ระยะอินฟินิตี้บนเลนส์ เราก็อาจจะหาระยะอ้างอิงได้ เช่น ผมจะถ่ายดาวในคืนมืดสนิทด้วยเลนส์ 16 มม แต่พอมุมกว้างมากก็โฟกัสดาวลำบากมาก ถ้าเราเปิดเอฟที่ 2.8 เราแค่มองหาวัตถุที่เราสามารถส่องไฟฉายไปโฟกัสได้ ที่ระยะ 10 ฟุต หรือ 3 เมตร เท่านั้น ถ้าเราโฟกัสตรงนั้นได้ ก็มั่นใจได้เลยว่าเราจะได้ระยะชัดอนันต์ที่ถูกต้องแน่นอน เท่านี้ก็หมดปัญหา

เซฟตารางไว้ในมือถือ เปิดดูเมื่อใช้งาน เท่านี้ก็สร้างโอกาสแปลกๆใหม่ๆในการได้ภาพเพิ่มขึ้นมากมายแล้วครับ

0 comments on “Hyper Focal Distance

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: